fed
fed

ทำไมต้องสนใจ FED ขึ้นดอกเบี้ย สำหรับนักลงทุน?

ทำไมต้องสนใจ FED ขึ้นดอกเบี้ย สำหรับนักลงทุน?

พิเศษ! วันนี้หลักทรัพย์บัวหลวงจะพามาร่วมวิเคราะห์หุ้น เจาะลึกสรุปประชุม FED 25-26 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา กับรายการ ร.ว.ย. เล่าเรื่องหุ้นสไตล์หลักทรัพย์บัวหลวง

FED คืออะไร

ธนาคารกลางของสหรัฐฯ (FED) มีหน้าที่ที่จะดูแลเสถียรภาพของเงินเฟ้อ เศรษฐกิจ และการจ้างงานผ่านนโยบายการเงิน ด้วยการขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ย เพิ่มหรือลดสภาพคล่องการเงินในระบบ 

โดยสรุปรอบการประชุม 25-26 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา

มติของ FED ไม่ต่างจากคาดของตลาดฯ

  • โดยรอบการประชุม 25-26 ม.ค.2565 ที่ผ่านมา ประกาศคงอัตราดอกเบี้ย 0-0.25% และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในรอบประชุม 15-16 มี.ค.2565
  • ก.พ. FED จะปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) 30,000 ล้านดอลลาร์ และจะสิ้นสุดการทำ QE ในเดือนมี.ค.
  • ยังไม่มีการระบุประเด็นการเริ่มปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening) ปัจจุบันมียอดสูงเกือบ 9 ล้านล้านดอลลาร์ โดยคาด FED จะเริ่มลด Balance Sheet หรือทำ Quantitative Tightening ในเดือนก.ค.
  • คาดการณ์ของตลาดฯ ประเมิน FED ขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% โดยจะขึ้น 3 ครั้งในปีนี้
  • คาดการณ์ของ Goldman Sachs ประเมิน FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 4 ครั้งในปีนี้

แล้วเราสามารถจับจังหวะซื้อขายด้วยได้จากที่ไหน ?

ใช้เส้นค่าเฉลี่ย EMA หาจังหวะซื้อ ถือ หรือขายได้อย่างไร?

นักเทคนิคมักใช้สูตรการคำนวณ EMA ที่มีการคำนวณ Period ราคาย้อนหลังแตกต่างกันหลายแบบ เช่น

  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วัน (2 สัปดาห์) ใช้สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นระยะสั้น
  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 25 วัน (5 สัปดาห์) ใช้สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นระยะสั้น ถึง ระยะกลาง
  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วัน (10 สัปดาห์) ใช้สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นระยะกลาง
  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน (40 สัปดาห์) ใช้สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นระยะยาว

สัญญาณเตือนที่นักเทคนิคนิยมใช้บ่งบอกว่าหุ้นกำลังเปลี่ยนเป็น สัญญาณขาขึ้น หรือ สัญญาณขาลง โดยใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้น เปรียบเทียบกัน แบ่งเป็น

  • เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น 15 วัน และ เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว 50 วัน
  • เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น 50 วัน และ เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว 200 วัน หรืออาจจะใช้เป็นระยะอื่นๆแทนได้

ema-คือ-golden-cross-vs-death-cross.jpg

ยกตัวอย่าง กราฟดัชนี SET โดยใช้ TimeFrame เป็นรายสัปดาห์ (W)

โดยกำหนดให้ เส้นสีขาวเป็นเส้น EMA ระยะสั้น 15 วัน และ เส้นสีเขียวเป็นเส้น EMA ระยะยาว 50 วัน

  • Golden Cross – จุดซื้อที่เกิดสัญญาณกระทิง (Bullish) หรือราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนเป็นเทรนด์ขาขึ้น จะเห็นได้จากเส้น EMA ระยะสั้นตัดขึ้นเหนือเส้น EMA ระยะยาว
  • Death Cross – จุดขายที่เกิดสัญญาณหมี (Bearish) หรือราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนเป็นเทรนด์ขาลง จะเห็นได้จากเส้น EMA ระยะสั้นตัดลงต่ำกว่าเส้น EMA ระยะยาว

กล่าวง่าย ๆ คือ เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว เราสามารถใช้มองเป็นเส้นแนวรับ (กรณี Death Cross) หรือ แนวต้าน (Golden Cross) ได้ หรือเป็นจุดที่มีแรงซื้อแรงขายมากกว่าราคาอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญ หากราคาหุ้นทะลุแนวต้านหรือหลุดแนวรับจึงเป็นสัญญาณบ่งบอกได้ว่าหุ้นกำลังจะเปลี่ยนเทรนด์

ลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวงสามารถใช้เส้น EMA ผ่านเครื่องมือใดได้บ้าง?

1. โปรแกรม Trade Master

2. โปรแกรม Aspen for browser

3. โปรแกรม Stock Signals

4. โปรแกรม Streaming

5. โปรแกรม Efinance Thai

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม วิธีการใช้เครื่องมือ คลิกที่นี่

ที่มา: BLS Futures and Options

www.setinvestnow.com

📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก 👇

MicrosoftTeams-image-635.png

หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง