CautionSign-NVDR
CautionSign-NVDR

มือใหม่ลงทุนไม่มีหลุด! สัญญาณเตือน เครื่องหมายหุ้น และรู้จักข้อห้ามลงทุน NVDR

มือใหม่ลงทุนไม่มีหลุด! สัญญาณเตือน เครื่องหมายหุ้น และรู้จักข้อห้ามลงทุน NVDR

อยากเริ่มลงทุน แต่กลัวเจ็บตัว? ไม่ต้องกังวลไป บทความนี้รวบรวม "สัญญาณเตือน" และ "เครื่องหมายหุ้น" สำคัญที่จะช่วยให้นักลงทุนมือใหม่เข้าใจตลาดหุ้นมากขึ้น พร้อมทั้ง "ข้อห้าม" สำหรับการลงทุนใน NVDR เพื่อช่วยให้คุณลงทุนอย่างมั่นใจ ปลอดภัย และประสบความสำเร็จ 

  

ลักษณะหุ้นที่ต้องระมัดระวัง 

  1. หุ้นที่กำลังเจอผลกระทบต่อฐานะการเงิน 

  1. หุ้นที่ไม่ยอมส่งข้อมูล รายงาน หรืองบการเงิน 

  1. หุ้นที่เปิดหรือปิดซื้อขายชั่วคราว 

  1. หุ้นที่มีการซื้อขายผิดปกติ 

 

ทำความรู้จักเครื่องหมายหลักทรัพย์ มีอะไรเตือนเราได้บ้าง? 

 

เครื่องหมายห้ามพักการซื้อขาย 

  1. Trading Halt (H) คือ เครื่องหมายห้ามซื้อขายหุ้นชั่วคราว ใช้เวลาไม่เกิน 1 รอบการซื้อขาย ขึ้นเมื่อ... 

  • มีข้อมูลสำคัญที่อาจส่งผลต่อผู้ถือหุ้น การตัดสินใจลงทุน หรือราคาหุ้น 
  • การซื้อขายน่าสงสัย 
  • บริษัทร้องขอห้ามซื้อขายชั่วคราว 
  • เหตุอื่นๆ ที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อการซื้อขาย 

 
เมื่อบริษัทเปิดเผยข้อมูลครบถ้วน ตลาดหลักทรัพย์สามารถปลดเครื่องหมาย H ได้ 
 

  1. Trading Suspension (SP) คือ เครื่องหมายห้ามซื้อขายหุ้นเกิน 1 รอบการซื้อขาย ขึ้นเมื่อ... 

  • กรณีเดียวกับ H 1-3 แต่บริษัทไม่สามารถชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลได้ทันที 
  • บริษัทฝ่าฝืนกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ 
  • บริษัทไม่ส่งงบการเงินตรงเวลา 
  • หุ้นอยู่ระหว่างพิจารณาเพิกถอน/ปรับปรุงสถานะ 
  • หุ้นครบกำหนดไถ่ถอน แปลงสภาพ ใช้สิทธิ หรือขายคืน 
  • เหตุการณ์อื่นๆ ที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อการซื้อขาย 
 
  1. Pause (P) เป็นเครื่องหมายห้ามซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว โดยจะใช้กับหลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้เข้ามาตรการกำกับการซื้อขาย เนื่องจากสภาพการซื้อขายผิดปกติ 
     

เครื่องหมายแจ้งเตือน 

  1. Notice Pending (NP) บริษัทจดทะเบียนมีข้อมูล ที่ต้องรายงานและตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างรอข้อมูลจากบริษัท 
  2. Notice Received (NR) ตลาดหลักทรัพย์ได้รับการชี้แจงข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียนที่ได้มีการ Pending (NP) ไว้แล้ว 
  3. Non-Compliance (NC) หลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรืออยู่ระหว่างการเปิดซื้อขายชั่วคราว 
  4. Stabilization (ST) หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการซื้อหุ้นเพื่อส่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกิน 

 

NEW! เครื่องหมายแจ้งเตือนใหม่ ตั้งแต่ 25 มี.ค. 67 

หากหุ้นมีการขึ้นเครื่องหมายดังนี้จะแสดงว่า บริษัทเริ่มมีปัญหาเรื่องการเงิน หรือมีคุณสมบัติไม่เป็นไป ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยซื้อได้เฉพาะบัญชี Cash Balance เท่านั้น 
 

  1. Caution – Business (CB) 

  • เตือนว่าบริษัทเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับฐานะการเงินหรือผลการดำเนินงาน 
  • กรณีบริษัทไม่มีธุรกิจ ขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปี ฐานะการเงินอ่อนแอ ผิดนัดชำระหนี้ 
  • มีการยื่นฟื้นฟูกิจการ ล้มละลาย 

 

  1. Caution - Financial Statements (CS) 

  • เตือนให้นักลงทุนตรวจสอบงบการเงินอย่างละเอียด 
  • กรณีผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น 
  • ก.ล.ต. สั่งแก้ไขงบการเงิน หรือตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ 

 

  1. Caution – Free Float (CF) 

  • เตือนว่าบริษัทมีผู้ถือหุ้นรายย่อยน้อย 150 ราย หรือ 15% ที่ชำระแล้ว 
  • อาจกระทบต่อสภาพคล่องในการซื้อขาย 
  • หุ้นมีความผันผวนสูง 

 

  1. Caution - Non-Compliance (CC) 

  • เตือนว่าบริษัทไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ 
  • กรณีไม่มีกรรมการตรวจสอบครบถ้วน เกิน 3 เดือน 
  • บริษัทมีสินทรัพย์เป็นเงินสดหรือหลักทรัพย์ระยะสั้นเกือบทั้งหมด 

 
ข้อควรระวัง: เครื่องหมายจะอยู่จนกว่าบริษัทจะแก้ไขเหตุได้ และอาจถูกเพิกถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน 

ที่มา:  SET
 

หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติ (Market Surveillance) 

  1. T1 คือ ซื้อด้วยการวางเงินสด 100 % (บัญชี Cash Balance) และห้ามนำหลักทรัพย์ที่ติด T1 มาคำนวณวงเงินซื้อขาย 
  2. T2 คือ ซื้อด้วยการวางเงินสด 100 % (บัญชี Cash Balance) และ ห้ามนำหลักทรัพย์ที่ติด T1 มาคำนวณวงเงินซื้อขาย ห้าม Net settlement 
  3. T3 คือ จะขึ้นเครื่องหมาย P ซึ่งห้ามซื้อขายชั่วคราว 1 วันทำการ (เฉพาะวันแรก) เมื่ออนุญาตให้ซื้อขายจะมีเงื่อนไขตาม T2 

 

ติดตามสัญญาณเตือนได้ที่ไหนบ้าง 

  1. แอป Streaming 

Login Streaming > เลือกแถบ Realtime > คลิกเมนู Quote > ค้นหาชื่อหุ้น 

 

 

  1. เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ (SET) 

www.set.or.th > คลิกแถบข้อมูลการซื้อขาย > เลือกหลักทรัพย์ที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย 


เครื่องหมายหุ้น.jpg

 
รู้จักข้อห้ามลงทุน NVDR 

NVDR คือ ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ย่อมาจาก Non-Voting Depository Receipt รับผิดชอบโดย “บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด” เป็นบริษัทภายใต้ตลาดหลักทรัพย์ฯ สำหรับนักลงทุนชาวต่างชาติเท่านั้น 

 

Tips NVDR แตกต่างจาก –F อย่างไร? 

  1. หุ้น NVDR Local (-R) 

  • กระดานการซื้อขาย NVDR ของไทย ให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุน  
  • มี Volume การซื้อขายที่ค่อนข้างสูง เช่นเดียวกับหุ้นสามัญ และมีสภาพคล่องสูงกว่ากระดาน Foreign   
  • หากมีการซื้อ NVDR เข้ามาในพอร์ต จะมีสัญลักษณ์ -R ต่อท้ายหุ้นตัวนั้น 
  
  1. หุ้น Foreign (-F) 

  • กระดานการซื้อขายที่รองรับนักลงทุนต่างชาติ ลงทุนหุ้นในประเทศไทย  
  • มี Volume การซื้อขายที่ค่อนข้างต่ำ และมีข้อจำกัดด้านสภาพคล่อง เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติเทรดกันเอง  
  • หลังชื่อหุ้นจะมีสัญลักษณ์ -F (Foreign) ปรากฏต่อท้าย 

 

NEW! ปรับปรุงเกณฑ์ทำธุรกรรมเกี่ยวกับ NVDR 

ก.ล.ต. ปรับเกณฑ์ ห้ามคนไทยซื้อ NVDR เพิ่ม แต่สำหรับผู้ที่ถือ NVDR อยู่แล้ว ยังสามารถถือได้ตามปกติ 

  • เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ NVDR ในการสนับสนุนการลงทุนของชาวต่างชาติ 
  • ป้องกันไม่ให้ผู้ลงทุนไทยใช้ NVDR เป็นเครื่องมือหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ 

 

ถ้ามี NVDR อยู่แล้ว / เผลอซื้อเพิ่ม จะเกิดอะไรขึ้น? 

  1. ผู้ถือ NVDR เดิมอยู่แล้ว ก่อน 1 เม.ย. 67 

  • ไม่ต้องทำการใด ๆ สามารถถือได้ตามปกติ 
  • สามารถขายออกได้ตามปกติ สภาพคล่องปกติ 
  • ผู้ถือยังคงได้รับสิทธิจากหุ้นดังเดิม 

 

  1. เผลอซื้อเพิ่ม ทำยังไงดี 

  • หากคำสั่งยังไม่ Match รีบกดยกเลิกคำสั่ง 
  • หากคำสั่ง Match เรียบร้อย ทาง บล. จะดำเนินการแปลงสภาพหุ้น NVDR เป็นหุ้น Local ปกติ ณ สิ้นวันที่ซื้อขาย 

 

เครื่องมือช่วยดูต้นทุนแต่ละไม้ ด้วย iTracker 

itracker.jpg  

นักลงทุนมือใหม่ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้และเข้าถึงทุกบริการลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง

wconnex.jpg

อ่านคู่มือและเงื่อนไขการใช้งานคลิกที่นี่

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอป Wealth CONNEX บริการเชื่อมต่อทุกความรู้และบริการลงทุน
เลือกเมนู CHAT กด Chat With Customer Service
 

📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก   👇

 
เปิดบัญชี.jpg
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง